คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

Thesis (summary)


ค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม

เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกหัดทักษะ ของเอราวรรณ ศรจีกรี

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


สมมติฐานในการวิจัย

     เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

วิธีการดำเนินการวิจัย

กลุ่มเป้าหมาย ( ประชากร ) 

นักเรียนชาย - หญิง อายุ 4 - 5 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง  กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2

            กลุ่มตัวอย่าง

นักเรียนชาย - หญิง อายุ 4 - 5 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง  กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย  โดยจำฉลากจำนวน 1 ห้องเรียน  จากจำนวน 2 ห้องเรียน  และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้าการทดลอง 15 คน

ระยะเวลาทดลอง

ทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปี 2550  ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน  วันละ 30 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา

1.  ตัวแปรอิสระ
      กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
2.  ตัวแปรตาม  ได้แก่  ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
     2.1  การสังเกต
     2.2  การจำแนกประเภท
     2.3  การสื่อสาร
     2.4  การลงความเห็น

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย

· ชุดแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์
· แผนการจัดกิจกกรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
· แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนในการศึกษาค้นคว้า
  1. ขอความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
  2. ชี้แจงให้ครูประจำชั้นทราบถึงรูปแบบการวิจัย  และขอความร่วมมือในการดำเนินงารวิจัย
  3. สร้างความคุ้นเคยกบเด็กกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะ 3 สัปดาห์
  4. ก่อนทำการทดลอง  ผู้วิจัยทำการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  โดยใช้แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  5. ดำเนินทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
  6. เมื่อสิ้นกิจกรรม ผู้วิจัยทำการประเมินหลังใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  โดยใช้การประเมินแบบเดียวกับการทำการทดลอง
การวิเคราะห์ข้อมูล
  1. หาค่าสถิติพื้นฐานแสดงคะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  2. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกรบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  โดยใช้ t-test แบบ Dependent

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยย






สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

         พบว่าการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กคิดและลงมือปฏิบัติ  ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ  เพราะสร้างให้เด็กเกิดการเรียนรู้คิดอย่างมีเหตุผล คิดเป็น สังเกต ได้รู้จักการเรียนรู้  สิ่งแวดล้อมรอบตัว  อย่างมีความหมายด้วยการตอบคำถามประสบการณ์ทักษะวิทยาศาตร์ช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งรอบตัว รู้จักแยกแยะ รวมทั้งการแก้ปัญหา จากการเรียนทักษะกรบวนการทางวิทยาศาสตร์

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

  1. หลังจากการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยุ่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3  ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ ทักาะการจำแนกประเภท
  2. หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัยทางสถิติที่ระดับ 0.1

อภิปรายผลสรุปเป็น MindMap




ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ทราบแนวการจัดการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. ได้ทราบพัฒนาความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าเด็กเรียนรู้ได้มากเท่าไร

Monday 30 September 2013



30 September 2556


Science Experiences Management for Early Childhood


EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 



อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการทดลอง


  • หยก ทดลอง  น้ำพุในขวด
เกิดจากการที่อากาศมีความดันแตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีการถ่ายน้ำจากที่ที่มีความดันอากาศสูงไปยังที่ที่มีความดันอากาศน้อยกว่า
  • บุ๋ม   ทดลอง  มะนาวตกน้ำ
เกิดจากแรงดึงดูด
  • จู      ทดลอง  ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
เกิดแรงตึงผิว
  • ตาล ทดลอง  น้ำอัดลมฟองฟู
เกิดจากน้ำตาลหรือเกลือดันลมออกมา
  • บี      ทดลอง  พริกไทยไต่น้ำ
เกิดจากไฟฟ้าสถิตทำให้มีแรงดึงดูด
  • เอีย   ทดลอง  ลาวาแลมป์
เกิดจากการใส่สีเเละเม็ดฟูลงไปทำให้เกิดก๊าซคาบอนไดออกไซด์ลอยตัว
  • อัน    ทดลอง  ไข่ลอยไม่จม
เกิดจากไข่ไก่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำเกลือจึงสามารถลอยขึ้นได้
  • เฟิน   ทดลอง  ผ้าเปลี่ยนสี


เกิดจากผงขมิ้น

ข้อเสนอแนะอาจารย์

การใช้คำถามกับเด็ก  อย่างเช่น


  1. เด็กๆ เห็นอะไรอยู่บนโต๊ะบ้างค่ะ
  2. เด็กๆ คิดว่าอุปกรณ์บนโต๊ะทำอะไรได้บ้างค่ะ
  3. เด็กๆ ตอบได้ไหมค่ะ ว่าเพราะอะไร
  4. เด่วเรามาทำการทดลองพร้อมกันนะคะ
  5. เด็กๆ เห็นว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างค่ะ

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

Monday 23 September 2013


23 September 2556


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


                   จากคาบที่แล้วนักศึกษาได้ลงความคิดเห็นกันว่า จะทำเมนูข้าวผัดและให้เตรียมกะทะมา ส่วนเครื่องปรุงต่างๆพื่อนกลุ่มที่นำเสนอข้าวผัดได้นำมาแจกให้เพื่อนๆ 




                  วันนี้จึงเริ่มทำเมนูข้าวผัดอะไรเอ๋ย ?  โดยแสดงบทบาทสมมุติ  ให้กลุ่มเมนูข้าวผัดอะไรเอ๋ย?  แสดงเป็นคุณครูและให้ 4 กลุ่มที่เหลือเป็นนักเเรียน  คุณครูจะสอนทำตามขั้นตอน และให้คำถามเชิงความคิดสร้างสรรค์ต่อเด็ก  ให้เด็กคิดไปทำไปในขณะที่ทำข้าวผัดด้วย  





ความรู้ที่ได้รับวันนี้ดิฉันได้นำเสนอในรูป Mindmap ดังนี้






วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

Monday 16 September 2013



16 September 2556


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 

                 อาจารย์จ๋าได้พูดเรื่องการจัดงานนิทรรศการของเล่นวิทยาศาสตร์กับนักศึกษา และอาจารย์จ๋าได้มอบการสอน  2 คาบ ให้นักศึกษาได้เรียนกับ อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน 



              อาจารย์เบียร์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น  5   กลุ่ม  เพื่อที่จะเขียนแผนวิทยาศาสตร์ โดยคิดทำเมนู Cooking

กลุ่มที่  1  เมนูวุ้นมะพร้าวอร่อยเหาะ






กลุ่มที่  2  เมนูแซนวิชของหนู








กลุ่มที่  3 เมนู  Super  แกงจืด





กลุ่มที่  4  เมนูไข่ตุ๋นทรงเครื่อง





กลุ่มที่  5  เมนูข้าวผัด  (  กลุ่มดิฉัน )







                อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนจัดกิจกรรมของตัวเองจนครบทุกกลุ่มและให้เพื่อนๆ โหวตว่า อาทิตย์หน้าจะทำเมนูอะไรในชั้นเรียน
                เพื่อน ๆ ได้โหวตกันว่า เมนูที่จะทำ คือ ข้าวผัด  กลุ่มดิฉันจึงให้เพื่อนๆ เตรียมกะทะมา  ส่วนเครื่องปรุงของที่ใช้ทำข้าวผัด  กลุ่มดิฉันจะนำมาแจกให้เพื่อนๆ คะ



วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

Monday 9 September 2013



9 September 2556


Science Experiences Management for Early Childhood


EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102




ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไปดูงานต่างจังหวัด

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

Monday 2 September 2013



2 September 2556


Science Experiences Management for Early Childhood


EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 





ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม


วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Monday 26 August 2013



26 August 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


                   ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีงานเกษียณอาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์                          มหาวิทยาราชภัฏจันทรเกษม  อาจารย์จึงให้นักศึกษาเข้าร่วมงาน