คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

Thesis (summary)


ค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม

เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกหัดทักษะ ของเอราวรรณ ศรจีกรี

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


สมมติฐานในการวิจัย

     เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

วิธีการดำเนินการวิจัย

กลุ่มเป้าหมาย ( ประชากร ) 

นักเรียนชาย - หญิง อายุ 4 - 5 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง  กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2

            กลุ่มตัวอย่าง

นักเรียนชาย - หญิง อายุ 4 - 5 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง  กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย  โดยจำฉลากจำนวน 1 ห้องเรียน  จากจำนวน 2 ห้องเรียน  และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้าการทดลอง 15 คน

ระยะเวลาทดลอง

ทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปี 2550  ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน  วันละ 30 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา

1.  ตัวแปรอิสระ
      กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
2.  ตัวแปรตาม  ได้แก่  ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
     2.1  การสังเกต
     2.2  การจำแนกประเภท
     2.3  การสื่อสาร
     2.4  การลงความเห็น

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย

· ชุดแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์
· แผนการจัดกิจกกรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
· แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนในการศึกษาค้นคว้า
  1. ขอความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
  2. ชี้แจงให้ครูประจำชั้นทราบถึงรูปแบบการวิจัย  และขอความร่วมมือในการดำเนินงารวิจัย
  3. สร้างความคุ้นเคยกบเด็กกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะ 3 สัปดาห์
  4. ก่อนทำการทดลอง  ผู้วิจัยทำการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  โดยใช้แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  5. ดำเนินทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
  6. เมื่อสิ้นกิจกรรม ผู้วิจัยทำการประเมินหลังใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  โดยใช้การประเมินแบบเดียวกับการทำการทดลอง
การวิเคราะห์ข้อมูล
  1. หาค่าสถิติพื้นฐานแสดงคะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  2. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกรบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  โดยใช้ t-test แบบ Dependent

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยย






สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

         พบว่าการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กคิดและลงมือปฏิบัติ  ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ  เพราะสร้างให้เด็กเกิดการเรียนรู้คิดอย่างมีเหตุผล คิดเป็น สังเกต ได้รู้จักการเรียนรู้  สิ่งแวดล้อมรอบตัว  อย่างมีความหมายด้วยการตอบคำถามประสบการณ์ทักษะวิทยาศาตร์ช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งรอบตัว รู้จักแยกแยะ รวมทั้งการแก้ปัญหา จากการเรียนทักษะกรบวนการทางวิทยาศาสตร์

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

  1. หลังจากการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยุ่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3  ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ ทักาะการจำแนกประเภท
  2. หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัยทางสถิติที่ระดับ 0.1

อภิปรายผลสรุปเป็น MindMap




ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ทราบแนวการจัดการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. ได้ทราบพัฒนาความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าเด็กเรียนรู้ได้มากเท่าไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น