คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

Thesis (summary)


ค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม

เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกหัดทักษะ ของเอราวรรณ ศรจีกรี

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


สมมติฐานในการวิจัย

     เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

วิธีการดำเนินการวิจัย

กลุ่มเป้าหมาย ( ประชากร ) 

นักเรียนชาย - หญิง อายุ 4 - 5 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง  กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2

            กลุ่มตัวอย่าง

นักเรียนชาย - หญิง อายุ 4 - 5 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง  กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย  โดยจำฉลากจำนวน 1 ห้องเรียน  จากจำนวน 2 ห้องเรียน  และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้าการทดลอง 15 คน

ระยะเวลาทดลอง

ทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปี 2550  ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน  วันละ 30 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา

1.  ตัวแปรอิสระ
      กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
2.  ตัวแปรตาม  ได้แก่  ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
     2.1  การสังเกต
     2.2  การจำแนกประเภท
     2.3  การสื่อสาร
     2.4  การลงความเห็น

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย

· ชุดแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์
· แผนการจัดกิจกกรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
· แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนในการศึกษาค้นคว้า
  1. ขอความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
  2. ชี้แจงให้ครูประจำชั้นทราบถึงรูปแบบการวิจัย  และขอความร่วมมือในการดำเนินงารวิจัย
  3. สร้างความคุ้นเคยกบเด็กกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะ 3 สัปดาห์
  4. ก่อนทำการทดลอง  ผู้วิจัยทำการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  โดยใช้แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  5. ดำเนินทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
  6. เมื่อสิ้นกิจกรรม ผู้วิจัยทำการประเมินหลังใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  โดยใช้การประเมินแบบเดียวกับการทำการทดลอง
การวิเคราะห์ข้อมูล
  1. หาค่าสถิติพื้นฐานแสดงคะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  2. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกรบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  โดยใช้ t-test แบบ Dependent

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยย






สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

         พบว่าการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กคิดและลงมือปฏิบัติ  ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ  เพราะสร้างให้เด็กเกิดการเรียนรู้คิดอย่างมีเหตุผล คิดเป็น สังเกต ได้รู้จักการเรียนรู้  สิ่งแวดล้อมรอบตัว  อย่างมีความหมายด้วยการตอบคำถามประสบการณ์ทักษะวิทยาศาตร์ช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งรอบตัว รู้จักแยกแยะ รวมทั้งการแก้ปัญหา จากการเรียนทักษะกรบวนการทางวิทยาศาสตร์

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

  1. หลังจากการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยุ่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3  ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ ทักาะการจำแนกประเภท
  2. หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัยทางสถิติที่ระดับ 0.1

อภิปรายผลสรุปเป็น MindMap




ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ทราบแนวการจัดการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. ได้ทราบพัฒนาความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าเด็กเรียนรู้ได้มากเท่าไร

Monday 30 September 2013



30 September 2556


Science Experiences Management for Early Childhood


EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 



อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการทดลอง


  • หยก ทดลอง  น้ำพุในขวด
เกิดจากการที่อากาศมีความดันแตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีการถ่ายน้ำจากที่ที่มีความดันอากาศสูงไปยังที่ที่มีความดันอากาศน้อยกว่า
  • บุ๋ม   ทดลอง  มะนาวตกน้ำ
เกิดจากแรงดึงดูด
  • จู      ทดลอง  ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
เกิดแรงตึงผิว
  • ตาล ทดลอง  น้ำอัดลมฟองฟู
เกิดจากน้ำตาลหรือเกลือดันลมออกมา
  • บี      ทดลอง  พริกไทยไต่น้ำ
เกิดจากไฟฟ้าสถิตทำให้มีแรงดึงดูด
  • เอีย   ทดลอง  ลาวาแลมป์
เกิดจากการใส่สีเเละเม็ดฟูลงไปทำให้เกิดก๊าซคาบอนไดออกไซด์ลอยตัว
  • อัน    ทดลอง  ไข่ลอยไม่จม
เกิดจากไข่ไก่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำเกลือจึงสามารถลอยขึ้นได้
  • เฟิน   ทดลอง  ผ้าเปลี่ยนสี


เกิดจากผงขมิ้น

ข้อเสนอแนะอาจารย์

การใช้คำถามกับเด็ก  อย่างเช่น


  1. เด็กๆ เห็นอะไรอยู่บนโต๊ะบ้างค่ะ
  2. เด็กๆ คิดว่าอุปกรณ์บนโต๊ะทำอะไรได้บ้างค่ะ
  3. เด็กๆ ตอบได้ไหมค่ะ ว่าเพราะอะไร
  4. เด่วเรามาทำการทดลองพร้อมกันนะคะ
  5. เด็กๆ เห็นว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างค่ะ

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

Monday 23 September 2013


23 September 2556


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


                   จากคาบที่แล้วนักศึกษาได้ลงความคิดเห็นกันว่า จะทำเมนูข้าวผัดและให้เตรียมกะทะมา ส่วนเครื่องปรุงต่างๆพื่อนกลุ่มที่นำเสนอข้าวผัดได้นำมาแจกให้เพื่อนๆ 




                  วันนี้จึงเริ่มทำเมนูข้าวผัดอะไรเอ๋ย ?  โดยแสดงบทบาทสมมุติ  ให้กลุ่มเมนูข้าวผัดอะไรเอ๋ย?  แสดงเป็นคุณครูและให้ 4 กลุ่มที่เหลือเป็นนักเเรียน  คุณครูจะสอนทำตามขั้นตอน และให้คำถามเชิงความคิดสร้างสรรค์ต่อเด็ก  ให้เด็กคิดไปทำไปในขณะที่ทำข้าวผัดด้วย  





ความรู้ที่ได้รับวันนี้ดิฉันได้นำเสนอในรูป Mindmap ดังนี้






วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

Monday 16 September 2013



16 September 2556


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 

                 อาจารย์จ๋าได้พูดเรื่องการจัดงานนิทรรศการของเล่นวิทยาศาสตร์กับนักศึกษา และอาจารย์จ๋าได้มอบการสอน  2 คาบ ให้นักศึกษาได้เรียนกับ อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน 



              อาจารย์เบียร์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น  5   กลุ่ม  เพื่อที่จะเขียนแผนวิทยาศาสตร์ โดยคิดทำเมนู Cooking

กลุ่มที่  1  เมนูวุ้นมะพร้าวอร่อยเหาะ






กลุ่มที่  2  เมนูแซนวิชของหนู








กลุ่มที่  3 เมนู  Super  แกงจืด





กลุ่มที่  4  เมนูไข่ตุ๋นทรงเครื่อง





กลุ่มที่  5  เมนูข้าวผัด  (  กลุ่มดิฉัน )







                อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนจัดกิจกรรมของตัวเองจนครบทุกกลุ่มและให้เพื่อนๆ โหวตว่า อาทิตย์หน้าจะทำเมนูอะไรในชั้นเรียน
                เพื่อน ๆ ได้โหวตกันว่า เมนูที่จะทำ คือ ข้าวผัด  กลุ่มดิฉันจึงให้เพื่อนๆ เตรียมกะทะมา  ส่วนเครื่องปรุงของที่ใช้ทำข้าวผัด  กลุ่มดิฉันจะนำมาแจกให้เพื่อนๆ คะ



วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

Monday 9 September 2013



9 September 2556


Science Experiences Management for Early Childhood


EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102




ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไปดูงานต่างจังหวัด

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

Monday 2 September 2013



2 September 2556


Science Experiences Management for Early Childhood


EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 





ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม


วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Monday 26 August 2013



26 August 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


                   ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีงานเกษียณอาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์                          มหาวิทยาราชภัฏจันทรเกษม  อาจารย์จึงให้นักศึกษาเข้าร่วมงาน









วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Monday 19 August 2013



19 August 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองโดนสาธิตรูปแบบการสอนด้วยตนเอง  มีดังนี้

  1. ปัทมา          การทดลองกระดาษกับไม้บล็อก
  2. แอม            การทดลองช็อคสลายตัว
  3. ปรางวลี       การทดลองลูกโป่งในขวด
เกิดจากความดันของอากาศที่ทำให้ลูกโป่งพองตัว
     
    4. ภัสราภรณ์   การทดลองตะเกียบหรรษา
    5. จงกลณี       การทดลองอากาศต้องการที่อยู่

เกิดจากแรงดันอากาศ

    6.  อ๊อฟ            การทดลองกระป๋องบุบ

อาจารย์ได้ให้คำเสนอเพิ่มเติมโดยดิฉันสรุปเป็น Mimdmap ดังนี้


วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Monday 17 August 2013



17 August 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


เนื่องจากวันที่  12  สิงหาคม 2556  เป็นวันหยุดทางราชการ อาจารย์จึงนัดสอนเพิ่มเติม

อาจารย์ได้เช็คชื่อนักศึกษาพร้อมสอบถามว่าใครทำของเล่นเข้ามุมแล้วบ้าง  อาจารย์จึงให้นักศึกษาจับคู่ 2 - 3 คน ประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม  โดยอาจารย์ได้นำกล่องที่มีหลายขนาดมาแจกให้นักศึกษาเลือกกลุ่มละ 1 กล่อง



อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอการทดลองต่อ

-  อริตา       การทดลองดวงดาว

เกิดจากน้ำซึมผ่านช่องว่างเล็กไปสู่จุดหนึ่งของกระดาษ

-  อีฟ          การทดลองน้ำมาจากไหน

เกิดจากอากาศที่มีอยู่

-  หยง        การทดลองชั่งน้ำหนักบนดวงจันทร์

-  กุ้ง          การทดลองน้ำไม่ล้น

เกิดจากแรงตึงผิว

-  ภณิดา    การทดลองเส้นด้ายยกน้ำแข็ง

เกิดจากเกลือที่โรยไป ทำให้น้ำแข็งละลายตัว 

-  อุมาลิน  การทดลองลูกโป่งลากกระป๋อง



ดิฉันได้สรุปกระบวนการนำเสนอจากอาจารย์เป็น Mindmap  ดังนี้




วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Monday 12 August 2013




12 August 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102


งดการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ


      ดิฉันได้หาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวันแม่

           วันแม่แห่งชาติใน
ประเทศไทย ปัจจุบันตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพขอสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มใช้วันดังกล่าวเป็นวันแม่แห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2519 ก่อนหน้านั้นเคยใช้วันที่ 10 มีนาคม, 15 เมษายน, และ 4 ตุลาคม

           สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาว ส่งกลิ่นหอมได้ไกลและได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยตีความเปรียบกับความรักบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย





เพลงค่าน้ำนม





เนื้อเพลงค่าน้ำนม

แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง
ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอ้ละเห่ 
กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเห ไปจนไกล
เมื่อเล็กจนโตโอ้แม่ถนอม
แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดจากรักลูกปักดวงใจ
เติบ โตโอ้เล็กจนใหญ่
นี่แหละหนาอะไร มิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม

* ควร คิดพินิจให้ดี 
ค่าน้ำนมแม่นี้ จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋า ลูกคิดถึงค่าน้ำนม
เลือดในอกผสม กลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง
แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวช เรียนพากเพียรจนสิ้น
หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย


วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Monday 5 August 2013



5 August 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


งดการเรียนการสอน เพราะอยู่ในช่วงสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Monday 29 July 2013




29 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้หยุดไปเตรียมอ่านหนังสือสอบ                                                

หมายเหตุ การทดลองและของเล่นเข้ามุม นำเสนอครั้งต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Monday 28 July 2013





28 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 



             อาจารย์นัดสอนเพิ่มเติม อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมานำเสนอวิธีทำของเล่นของเเต่ละคน มีดังนี้

เตย ทำเฮรีคอปเตอร์กระดาษ   


เกิดจากแรงดันอากาศ                     

ฝน ทำกังหันลมจิ๋ว    

เกิดจากแรงลม                       

แอม ทำโบว์ลิ่ง

อีฟ ทำใบพัดสามแฉก  


กิดจากแรงลม                            

ตาล ทำลูกข่างกระดาษ

เกิดจากความดันของลม

หลัน ทำลูกข่างจากแผ่น CD


เกิดจากแรงดันจากลม

ริตา ทำเรือพลังยาง

เกิดจากแรงลม

ปูนิ่ม ทำคอปเตอร์จากไม้ไอติม


เกิดจากแรงลม                     

ฝน ทำรถไถจากหลอดด้าย

เกิดจากแรงดัน


             อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะในการนำเสนอของเพื่อนแต่ละคนเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขใช้กับเด็กต่อไปข้างหน้า
           
  

การทดลองของดิฉัน คือ  กระดุมไม่ยอมจม



    

      อุปกรณ์ทดลอง

        1   แก้วน้ำ
        2. กระดุม
        3. ที่เปิดฝาขวด








ลงมือทดลอง



1                                                                       
                                                       เปิดขวดโซดา



2
                                                       เติมโซดาลงไปในแก้ว



      หย่อนกระดุมลงไปในแก้วแล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง


ผลการทดลอง
              
              เมื่อหย่อยกระดุมลงไปในน้ำโซดา แล้วกระดุมลอยตัวได้ เพราะ โซดามีพื้นที่มากพอ ทำให้คาร์บอนไดออกไซต์เกาะกับกระดุมทำให้กระดุมลอยตัว  แต่เมื่อคาร์บอนไดออกไซต์ขึ้นสู่ผิวน้ำ จะทำให้กระดุมถูกแรงผยุงลงสู่ก้นแก้วเช่นกันคะ


            
            อาจารย์ได้นำเสนอของเล่นรุ่นพี่เพื่อเป็นไอเดียตัวอย่าง มีดังนี้

  1. ที่เป่าลมปอด 
  2. กล้อง 
  3. ทอร์นาโด
  4. จรวด 
  5. นักประดาน้ำ 
  6. โมบายปลา 
  7. การขยายตัวของวัตถุ
  8. ที่ยิงลูกปิงปอง 
  9. รถลูกโป่ง 
  10. ลูกปิงปองลงขวด 
  11. ปลาเคลื่อนที่ 
  12. แตร 
หมายเหตุ อาทิตย์หน้าอาจารย์ให้นำเสนอการทดลองและของเล่นเข้ามุม

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Monday 22 July 2013





22 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 



หยุดอาสาฬหบูชา

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Monday 15 July 2013





15 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้  ดังนี้

หยก  :  นำเสนอเรื่อง เลี้ยงลูกบอลด้วยลม

เกิดจากแรงลม

ออย  :  นำเสนอเรื่อง กังหันลม

เกิดจากแรงลม

เฟิร์น :  นำเสนอเรื่อง ไก่กระต๊าก

เกิดจากการเสียดสีของเชือก

อ๊อฟ  :  นำเสนอเรื่อง เครื่องบินแรงดันอากาศ 

เกิดจากแรงดันอากาศ

แอม  :   นำเสนอเรื่อง ไปเป้เป่าลม

เกิดจากแรงดันอากาศ

หยง  :   นำเสนอเรื่อง ตุ๊กตาไข่ล้มลุก

เกิดจากแรงโน้มถ่วง

จู      :   นำเสนอเรื่อง ปืนขวดน้ำ

เกิดจากแรงดัน

ริตา  :   นำเสนอเรื่อง  เรือพลังยาง

เกิดจากแรงดัน

ปริม  :   นำเสนอเรื่อง  จานหมุนมีชีวิต

เกิดจากแรงดันอากาศ

ปรางค์ :  นำเสนอเรื่อง  กล้องผสมสี

เกิดจากการผสมสี

ไอซ์    :   นำเสนอเรื่อง ขวดผิวปาก

เกิดจากแรงดันอากาศ

             อาจารย์ให้นักศึกษาที่ออกไปนำเสนอสิ่งประดิษฐ์หน้าชั้นเรียน เอาสิ่งที่นำเสนอไปลงในบล็อกของตนเอง โดยให้บอกวิธีการทำต่างๆอย่างละเอียดพร้อมรูปภาพประกอบ และคาบหน้าให้นักศึกษาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ของตนเองมา 1 ชิ้น และเตรียมอุปกรณ์มา 1 ชุด เพื่อที่จะนำมาสาธิตวิธีการทำแก่เพื่อนที่จับคู่กัน
                                              
                                                  สิ่งประดิษฐ์ที่ดิฉันนำเสนอ คือ กังหันลม

.
.
.
.
วัสดุอุปกรณ์
  1. กระดาษA4สี
  2. ลวด
  3. กรรไกร
  4. ลูกปัด
  5. ที่เจาะ(อาจเป็นปากกา ในที่นี้ใช้วงเวียน)
  6. หลอดยาว

ขั้นตอนการทำ

1. ตัดกระดาษครึ่งกระดาษA4  ตัดให้ได้รูปสี่เหลียมจตุรัส


2. พับให้เป็นสามเหลียมด้านตรงข้ามกันสองครั้ง จะได้รอยกากบาทดังรูป
ตัดตามรอยพับขึ้นมา3ใน4ส่วน(กะๆเอานะคะ)
เจาะรูตรงกลาง และ มุมกระดาษตามที่วงกลมสีดำไว้
*ระวังตอนเจาะรู ต้องให้อยู่ด้านเดียวกันเสมอ คือ เจาะรูด้านซ้ายก็ซ้ายไปเรื่อยๆนะคะ อย่าให้มันชนกัน
.
3. นำลวดทิ่มผ่านรูกลางขึ้นมา ใส่ลูกปัด 1 ลูกลงไป


4. ค่อยๆ จับปลายกระดาษที่เจาะรูจิ้มผ่านลวดตรงกลาง ต้องใช้นิ้วมากดตรงกลางด้านบนไว้นะคะ ไม่งั้นมันจะเด้งหลุดออก หรือหาเพื่อนมาช่วยจับก็ได้ค่ะ ไล่ไปจนครบสี่ด้าน จะได้รูปนี้

 .
5. จากนั้นใส่หลอดที่ตัดมาเล็กๆ ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ตามด้วยลูกปัด

.
6. ดัดลวดลงมาเพื่อไม่ให้หลุดค่ะ


7. ลวดที่เหลือด้านหลัง ใส่ลูกปัดก่อน ตามด้วยหลอดยาว


8. ดัดลวดตรงปลายส่วนที่เหลือขึ้นมา พันเก็บไว้ให้สวยงาม อาจใช้สกอตเทปพันทับเพื่อไม่ให้บาดมือก็ได้ค่ะ
*ระวัง อย่าดันหลอดให้ชิดกระดาษมากเกินไป กังหันจะแน่นและหมุนไม่ได้


9. ดัดลวดตรงคอกังหันลงตามรูป เสร็จแล้ว!!!!


วิธีการเล่น

เด็กมักจะใช้ถือแล้ววิ่งปะทะกับลมทำให้กังหันกระดาษหมุนได้

แนวคิด

ลมที่เข้ามาปะทะกับกังหันลม แล้วกังหันลมหมุน นั่นเป็นเพราะมีพลังงานจากแรงลมมาดันให้กังหันหมุน