15 July 2013
Science Experiences Management for Early Childhood
EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ดังนี้
หยก : นำเสนอเรื่อง เลี้ยงลูกบอลด้วยลม
เกิดจากแรงลม
ออย : นำเสนอเรื่อง กังหันลม
เกิดจากแรงลม
ออย : นำเสนอเรื่อง กังหันลม
เกิดจากแรงลม
เฟิร์น : นำเสนอเรื่อง ไก่กระต๊าก
เกิดจากการเสียดสีของเชือก
เกิดจากการเสียดสีของเชือก
อ๊อฟ : นำเสนอเรื่อง เครื่องบินแรงดันอากาศ
เกิดจากแรงดันอากาศ
แอม : นำเสนอเรื่อง ไปเป้เป่าลม
เกิดจากแรงดันอากาศ
หยง : นำเสนอเรื่อง ตุ๊กตาไข่ล้มลุก
เกิดจากแรงโน้มถ่วง
จู : นำเสนอเรื่อง ปืนขวดน้ำ
เกิดจากแรงดัน
ริตา : นำเสนอเรื่อง เรือพลังยาง
เกิดจากแรงดัน
ปริม : นำเสนอเรื่อง จานหมุนมีชีวิต
เกิดจากแรงดันอากาศ
ปรางค์ : นำเสนอเรื่อง กล้องผสมสี
เกิดจากการผสมสี
ไอซ์ : นำเสนอเรื่อง ขวดผิวปาก
เกิดจากแรงดันอากาศ
อาจารย์ให้นักศึกษาที่ออกไปนำเสนอสิ่งประดิษฐ์หน้าชั้นเรียน เอาสิ่งที่นำเสนอไปลงในบล็อกของตนเอง โดยให้บอกวิธีการทำต่างๆอย่างละเอียดพร้อมรูปภาพประกอบ และคาบหน้าให้นักศึกษาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ของตนเองมา 1 ชิ้น และเตรียมอุปกรณ์มา 1 ชุด เพื่อที่จะนำมาสาธิตวิธีการทำแก่เพื่อนที่จับคู่กัน
สิ่งประดิษฐ์ที่ดิฉันนำเสนอ คือ กังหันลม
.
.
.
.
วัสดุอุปกรณ์
- กระดาษA4สี
- ลวด
- กรรไกร
- ลูกปัด
- ที่เจาะ(อาจเป็นปากกา ในที่นี้ใช้วงเวียน)
- หลอดยาว
ขั้นตอนการทำ
1. ตัดกระดาษครึ่งกระดาษA4 ตัดให้ได้รูปสี่เหลียมจตุรัส
2. พับให้เป็นสามเหลียมด้านตรงข้ามกันสองครั้ง จะได้รอยกากบาทดังรูป
ตัดตามรอยพับขึ้นมา3ใน4ส่วน(กะๆเอานะคะ)
เจาะรูตรงกลาง และ มุมกระดาษตามที่วงกลมสีดำไว้
*ระวังตอนเจาะรู ต้องให้อยู่ด้านเดียวกันเสมอ คือ เจาะรูด้านซ้ายก็ซ้ายไปเรื่อยๆนะคะ อย่าให้มันชนกัน
.
3. นำลวดทิ่มผ่านรูกลางขึ้นมา ใส่ลูกปัด 1 ลูกลงไป
4. ค่อยๆ จับปลายกระดาษที่เจาะรูจิ้มผ่านลวดตรงกลาง ต้องใช้นิ้วมากดตรงกลางด้านบนไว้นะคะ ไม่งั้นมันจะเด้งหลุดออก หรือหาเพื่อนมาช่วยจับก็ได้ค่ะ ไล่ไปจนครบสี่ด้าน จะได้รูปนี้
.
5. จากนั้นใส่หลอดที่ตัดมาเล็กๆ ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ตามด้วยลูกปัด
.
6. ดัดลวดลงมาเพื่อไม่ให้หลุดค่ะ
7. ลวดที่เหลือด้านหลัง ใส่ลูกปัดก่อน ตามด้วยหลอดยาว
8. ดัดลวดตรงปลายส่วนที่เหลือขึ้นมา พันเก็บไว้ให้สวยงาม อาจใช้สกอตเทปพันทับเพื่อไม่ให้บาดมือก็ได้ค่ะ
*ระวัง อย่าดันหลอดให้ชิดกระดาษมากเกินไป กังหันจะแน่นและหมุนไม่ได้
9. ดัดลวดตรงคอกังหันลงตามรูป เสร็จแล้ว!!!!
วิธีการเล่น
เด็กมักจะใช้ถือแล้ววิ่งปะทะกับลมทำให้กังหันกระดาษหมุนได้
แนวคิด
ลมที่เข้ามาปะทะกับกังหันลม แล้วกังหันลมหมุน นั่นเป็นเพราะมีพลังงานจากแรงลมมาดันให้กังหันหมุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น