คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Monday 29 July 2013




29 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้หยุดไปเตรียมอ่านหนังสือสอบ                                                

หมายเหตุ การทดลองและของเล่นเข้ามุม นำเสนอครั้งต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Monday 28 July 2013





28 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 



             อาจารย์นัดสอนเพิ่มเติม อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมานำเสนอวิธีทำของเล่นของเเต่ละคน มีดังนี้

เตย ทำเฮรีคอปเตอร์กระดาษ   


เกิดจากแรงดันอากาศ                     

ฝน ทำกังหันลมจิ๋ว    

เกิดจากแรงลม                       

แอม ทำโบว์ลิ่ง

อีฟ ทำใบพัดสามแฉก  


กิดจากแรงลม                            

ตาล ทำลูกข่างกระดาษ

เกิดจากความดันของลม

หลัน ทำลูกข่างจากแผ่น CD


เกิดจากแรงดันจากลม

ริตา ทำเรือพลังยาง

เกิดจากแรงลม

ปูนิ่ม ทำคอปเตอร์จากไม้ไอติม


เกิดจากแรงลม                     

ฝน ทำรถไถจากหลอดด้าย

เกิดจากแรงดัน


             อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะในการนำเสนอของเพื่อนแต่ละคนเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขใช้กับเด็กต่อไปข้างหน้า
           
  

การทดลองของดิฉัน คือ  กระดุมไม่ยอมจม



    

      อุปกรณ์ทดลอง

        1   แก้วน้ำ
        2. กระดุม
        3. ที่เปิดฝาขวด








ลงมือทดลอง



1                                                                       
                                                       เปิดขวดโซดา



2
                                                       เติมโซดาลงไปในแก้ว



      หย่อนกระดุมลงไปในแก้วแล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง


ผลการทดลอง
              
              เมื่อหย่อยกระดุมลงไปในน้ำโซดา แล้วกระดุมลอยตัวได้ เพราะ โซดามีพื้นที่มากพอ ทำให้คาร์บอนไดออกไซต์เกาะกับกระดุมทำให้กระดุมลอยตัว  แต่เมื่อคาร์บอนไดออกไซต์ขึ้นสู่ผิวน้ำ จะทำให้กระดุมถูกแรงผยุงลงสู่ก้นแก้วเช่นกันคะ


            
            อาจารย์ได้นำเสนอของเล่นรุ่นพี่เพื่อเป็นไอเดียตัวอย่าง มีดังนี้

  1. ที่เป่าลมปอด 
  2. กล้อง 
  3. ทอร์นาโด
  4. จรวด 
  5. นักประดาน้ำ 
  6. โมบายปลา 
  7. การขยายตัวของวัตถุ
  8. ที่ยิงลูกปิงปอง 
  9. รถลูกโป่ง 
  10. ลูกปิงปองลงขวด 
  11. ปลาเคลื่อนที่ 
  12. แตร 
หมายเหตุ อาทิตย์หน้าอาจารย์ให้นำเสนอการทดลองและของเล่นเข้ามุม

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Monday 22 July 2013





22 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 



หยุดอาสาฬหบูชา

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Monday 15 July 2013





15 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้  ดังนี้

หยก  :  นำเสนอเรื่อง เลี้ยงลูกบอลด้วยลม

เกิดจากแรงลม

ออย  :  นำเสนอเรื่อง กังหันลม

เกิดจากแรงลม

เฟิร์น :  นำเสนอเรื่อง ไก่กระต๊าก

เกิดจากการเสียดสีของเชือก

อ๊อฟ  :  นำเสนอเรื่อง เครื่องบินแรงดันอากาศ 

เกิดจากแรงดันอากาศ

แอม  :   นำเสนอเรื่อง ไปเป้เป่าลม

เกิดจากแรงดันอากาศ

หยง  :   นำเสนอเรื่อง ตุ๊กตาไข่ล้มลุก

เกิดจากแรงโน้มถ่วง

จู      :   นำเสนอเรื่อง ปืนขวดน้ำ

เกิดจากแรงดัน

ริตา  :   นำเสนอเรื่อง  เรือพลังยาง

เกิดจากแรงดัน

ปริม  :   นำเสนอเรื่อง  จานหมุนมีชีวิต

เกิดจากแรงดันอากาศ

ปรางค์ :  นำเสนอเรื่อง  กล้องผสมสี

เกิดจากการผสมสี

ไอซ์    :   นำเสนอเรื่อง ขวดผิวปาก

เกิดจากแรงดันอากาศ

             อาจารย์ให้นักศึกษาที่ออกไปนำเสนอสิ่งประดิษฐ์หน้าชั้นเรียน เอาสิ่งที่นำเสนอไปลงในบล็อกของตนเอง โดยให้บอกวิธีการทำต่างๆอย่างละเอียดพร้อมรูปภาพประกอบ และคาบหน้าให้นักศึกษาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ของตนเองมา 1 ชิ้น และเตรียมอุปกรณ์มา 1 ชุด เพื่อที่จะนำมาสาธิตวิธีการทำแก่เพื่อนที่จับคู่กัน
                                              
                                                  สิ่งประดิษฐ์ที่ดิฉันนำเสนอ คือ กังหันลม

.
.
.
.
วัสดุอุปกรณ์
  1. กระดาษA4สี
  2. ลวด
  3. กรรไกร
  4. ลูกปัด
  5. ที่เจาะ(อาจเป็นปากกา ในที่นี้ใช้วงเวียน)
  6. หลอดยาว

ขั้นตอนการทำ

1. ตัดกระดาษครึ่งกระดาษA4  ตัดให้ได้รูปสี่เหลียมจตุรัส


2. พับให้เป็นสามเหลียมด้านตรงข้ามกันสองครั้ง จะได้รอยกากบาทดังรูป
ตัดตามรอยพับขึ้นมา3ใน4ส่วน(กะๆเอานะคะ)
เจาะรูตรงกลาง และ มุมกระดาษตามที่วงกลมสีดำไว้
*ระวังตอนเจาะรู ต้องให้อยู่ด้านเดียวกันเสมอ คือ เจาะรูด้านซ้ายก็ซ้ายไปเรื่อยๆนะคะ อย่าให้มันชนกัน
.
3. นำลวดทิ่มผ่านรูกลางขึ้นมา ใส่ลูกปัด 1 ลูกลงไป


4. ค่อยๆ จับปลายกระดาษที่เจาะรูจิ้มผ่านลวดตรงกลาง ต้องใช้นิ้วมากดตรงกลางด้านบนไว้นะคะ ไม่งั้นมันจะเด้งหลุดออก หรือหาเพื่อนมาช่วยจับก็ได้ค่ะ ไล่ไปจนครบสี่ด้าน จะได้รูปนี้

 .
5. จากนั้นใส่หลอดที่ตัดมาเล็กๆ ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ตามด้วยลูกปัด

.
6. ดัดลวดลงมาเพื่อไม่ให้หลุดค่ะ


7. ลวดที่เหลือด้านหลัง ใส่ลูกปัดก่อน ตามด้วยหลอดยาว


8. ดัดลวดตรงปลายส่วนที่เหลือขึ้นมา พันเก็บไว้ให้สวยงาม อาจใช้สกอตเทปพันทับเพื่อไม่ให้บาดมือก็ได้ค่ะ
*ระวัง อย่าดันหลอดให้ชิดกระดาษมากเกินไป กังหันจะแน่นและหมุนไม่ได้


9. ดัดลวดตรงคอกังหันลงตามรูป เสร็จแล้ว!!!!


วิธีการเล่น

เด็กมักจะใช้ถือแล้ววิ่งปะทะกับลมทำให้กังหันกระดาษหมุนได้

แนวคิด

ลมที่เข้ามาปะทะกับกังหันลม แล้วกังหันลมหมุน นั่นเป็นเพราะมีพลังงานจากแรงลมมาดันให้กังหันหมุน

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Monday 8 July 2013





8 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


อาจารย์ได้แจกกระดาษแล้วให้พับเป็น 8 ส่วน จำนวน 2 แผ่น  
  •  ให้วาดภาพเป็นเรื่องราวจำนวนหลายๆแผ่น แล้วเปิดภาพเร็วๆ จะเห็นภาพนั้นเกิดเป็นเรื่องราว 
  • ให้ดึงกระดาษมา 2 แผ่น อีกด้านวาดดอกไม้ อีกด้านวาดผีเสื้อ เอาสก็อตเทปมาติดกระดาษเชื่อมกัน แล้วใส่ดินสอไปในรู แล้วหมุนด้วยความเร็ว จะเห็นภาพต่อเนื่องกัน

หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์ให้ดู VDO เรื่อง น้ำมหัศจรรย์  มีเนื้อหา ดังนี้






วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Monday 1 July 2013





1 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 

            อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันสรุปเนื้อหาจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยสรุปเป็น Mind mapping พร้อมกัน ให้นักศึกษาร่วมพูดคุยแสดงข้อคิดเห็นตามหัวข้อ ดังนี้

1. ความหมายทางวิทยาศาสตร์
2. ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์
3. ทฤษฎีทางสติปัญญา
4. การเรียนรู้
5. แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
6. กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์
7. วิธีการทางสมมติฐาน


สรุปเป็น mind mapping ดังนี้




หลังจากสรูปเสร็จ อาจารย์ให้ดู VDO เรื่องความลับของแสง  มีเนื้อหา ดังนี้